วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

บทความ


สอนลูกเรื่องพายุ (Teaching Children about Storms)

ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง

 อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยมีความรู้เกี่ยวกับลมที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศอย่างรวดเร็ว และรุนแรง อันเนื่องจากอากาศ 2 บริเวณมีความแตกต่างของอุณหภูมิอย่างมาก ทำให้อากาศร้อน ลอยตัวสูงขึ้น อากาศในแนวราบที่อุณหภูมิต่ำกว่าจึงเข้ามาแทนที่ ทำให้เกิดการหมุนของอากาศ ส่งผลให้เกิดพายุ หมายถึงภาวะผิดปกติของบรรยากาศ เป็นปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งแสดง ถึงสภาวะของอากาศไม่ดี และมีลมแรงจัด ประเทศไทยมีภัยพิบัติที่เกิดจากลมพายุมาหลายครั้ง สร้างความเสียหายถึงชีวิตผู้คน สัตว์ พืช และทรัพย์สิน สิ่งก่อสร้างมากมาย การเกิดพายุครั้งใหญ่ๆ

·       ลมพายุ เป็นเรื่องธรรมชาติที่ควรจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก จัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เน้นกระบวนการในการแสวงหาความรู้เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เพราะความเป็นธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเด็กจะสัมพันธ์กับการดำรงชีวิต

·       เด็กปฐมวัยจะช่างคิด สมองของเด็กจะทำงานและพัฒนาได้อย่างมหัศจรรย์ เมื่อเด็กได้รับประสบ การณ์กับโลกภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมที่มากระตุ้นเซลล์สมองจำนวนนับพันล้านเซลล์ จะสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงถึงกัน เมื่อเด็กได้รับการส่งเสริมความอยากรู้และสำรวจ ตลอดจนการที่เด็กได้เรียนรู้ เรื่องลมพายุ เป็นเรื่องที่มีให้เห็นหรือเป็นจริง เป็นการเรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิต จึงทำให้ความอยากรู้ที่ก่อเกิดมาแล้วพร้อมกับชีวิต ได้รับการกระตุ้นให้เด็กอยากสืบค้นเรื่องที่ซับซ้อนอื่น ๆต่อไป

·       การส่งเสริม ให้เด็กสงสัยใคร่รู้ และเรื่องราวที่น่ารู้มีจริงในชีวิตของเด็ก จะช่วยสร้างความมั่นใจในตัวตนของเด็ก นักการศึกษาเด็กเชื่อว่าหากให้เด็กเผชิญกับปัญหา และ แก้ปัญหาด้วยตนเอง เด็กจะเกิดความสามารถช่วยตนเองได้และหาความสำเร็จได้ เรื่องลมพายุ เป็นเรื่องหนึ่งที่ท้าทายให้เด็กสงสัยและทดลองเป็นการวัดความสามารถของตนเองต่อไป

ครูสอนเรื่องพายุอย่างไร

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

·       การจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องพายุ จะสัมพันธ์กับการสอนเรื่องอากาศ ทดลองหาคำตอบ จากคำถามที่น่าสนใจเริ่มจากอากาศอยู่ที่ไหน ครูนำถุงซิปมา 1 ใบ เปิดซิปออกโบกถุง ผ่านอากาศ จากนั้น ก็ปิดปากถุง รูปร่างของถุงเปลี่ยนไป การทดลองนี้นำไปสู่การสรุปได้ว่า เรามองไม่เห็นลม แต่เรารู้ได้ว่ามีลม เพราะลมทำอะไรกับสิ่งที่เราเห็นได้

·       ทดลองหาคำตอบว่า พายุมีลักษณะอย่างไร โดยใช้พื้นที่ในห้องเรียน เมื่อเปิดประตู ห้องที่เปิดเครื่อง ปรับอากาศกำหนดอุณหภูมิต่ำกว่าภายนอก เมื่อเปิดประตูจะมีลมเย็นพัดออกมา นั่นคือความแตก ต่างของความกดอากาศที่พัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงเข้าสู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ถ้าความกดอากาศในที่สองแห่งแตกต่างกันมากจะทำให้มีลมพัดด้วยความเร็วสูง เช่น พายุหมุน พายุฝนฟ้าคะนอง เป็นต้น

·       ครูอาจนำข่าวสารการพยากรณ์อากาศจากโทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ มาอ่านให้เด็กรู้ว่าเรารู้ความ เร็วของลมพายุมานานแล้ว โดยดูผลของลมที่กระทำกับสิ่งรอบตัว คนศึกษาลักษณะของลม และทำ นายหรือพยากรณ์อากาศจาก เครื่องมือที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลอย่างดี เตือนเราล่วงหน้าเวลาที่มีพายุ พัดรุนแรง เราสามารถหาที่ปลอดภัยหลบพายุได้เมื่อเกิดเหตุการณ์จำเป็นเช่นนั้น

กิจกรรมเคลื่อนไหว

·       ครูอ่านบทกลอนให้เด็กเคลื่อนไหวแสดงท่าทางอิสระตามจังหวะ เกี่ยวกับพายุ

กิจกรรมสร้างสรรค์

·       วาดภาพระบายสีลมพายุ ตามความคิดของเขาอย่างอิสระ ทำโมบายไปแขวน บริเวณที่มีลมพัด

กิจกรรมกลางแจ้ง

·       ให้เด็กสมมติตนเองเป็นลมพายุ กางแขน วิ่งวนไปในรอบๆสนาม

กิจกรรมเสรี

·       ที่มุมหนังสือ หาหนังสือภาพเรื่อง ลมพายุมาให้เด็กอ่าน ดูภาพ

กิจกรรมเกมการศึกษา

·       เล่นเกมภาพตัดต่อลมพายุ เกมจับคู่ภาพท้องฟ้ามืด สว่าง ฝนตก น้ำท่วม

เกร็ดความรู้เพื่อครู

พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด เช่น

  • พายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า ไซโคลน (Cyclone)
  • เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางด้านตะวันตกของเม็กซิโกเรียก ว่า เฮอร์ริเคน (Hurricane)
  • เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และทะเลจีนใต้เรียกว่า ไต้ฝุ่น (Typhoon)

         พายุหมุนเขตร้อนที่มีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศของประเทศไทย ส่วนใหญ่มีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิก เหนือด้านตะวันตกและทะเลจีนใต้ ซึ่งมีการแบ่งเกณฑ์ ความรุนแรงของพายุตามข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยใช้ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุดังนี้

  • พายุดีเปรสชั่น ความเร็วลมไม่เกิน 33 นอต (61 กม./ชม.)
  • พายุโซนร้อน ความเร็วลม 34 - 63 นอต (62 - 117 กม./ชม.)
  • ไต้ฝุ่น ความเร็วลม 64 นอตขึ้นไป (118 กม./ชม.ขึ้นไป)

      ครูควรทำความเข้าใจก่อนว่า พายุจะเกิดได้นั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องของอุณหภูมิของกระแสน้ำ ยิ่งอุณหภูมิมากแนวโน้มที่จะกลายเป็นพายุ ที่มีความรุนแรงก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตาม มักเกิดในทะเลที่มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 26-27 c ขึ้นไป มีปริมาณไอน้ำสูง เมื่อเกิดขึ้นแล้วมักเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก และ ค่อยๆโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวัน ออกอีก และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด เมื่อครูมีความเข้าใจเรื่องการเกิดพายุ ครูนำมาออกแบบทด ลองให้เหมาะกับเด็กปฐมวัย
 

สรุปงานวิจัย

 

งานวิจัย เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ


 
ผู้วิจัย เอราวรรณ ศรีจักร
 มหาบัณฑิต  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ    

ปีพ.ศ. 2550

 
ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
 
         วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคตเป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ (Knowledge basedsociety) คนทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์  การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์ได้ โดยครูใช้ประสบการณ์การคิดและปฏิบัติ เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4 - 5 ปีมีลักษณะเฉพาะตัว คือ มีความเชื่อว่า ทุกอย่างมีชีวิต(animism) มีความรู้สึกและเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดมุ่งหมาย (purposivism) และชอบตั้งคำถามโดยใช้คำว่า “ทำไม”
         การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัส (Sensory Motor) เป็นหลักการเรียนรู้(Piaget. 1969) สื่อสำหรับเด็กในการเรียนรู้มีหลายชนิด สื่อแต่ละชนิดสามารถปรับใช้ได้กับหลายจุดประสงค์ แบบฝึกทักษะเป็นเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อฝึกให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านสติปัญญาและทักษะต่างๆ มีรูปแบบ วิธีการ ที่มีแบบแผน กฎเกณฑ์ โดยมีคำสั่งของแต่ละกิจกรรมตามเนื้อหาจุดประสงค์ของแบบฝึกแต่ละเล่ม ซึ่งเป็นแบบฝึกเกี่ยวกับภาพ ครูจะใช้ประกอบขณะเด็กทำกิจกรรมหรือตอนสรุปการเรียน

ความมุ่งหมายของการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ ดังนี้

1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 

        ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ     วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะหรือสื่ออื่นๆ แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ


ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

ตัวแปรในการวิจัย 

ตัวเเปรอิสระ/ตัวเเปรต้น คือ  กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์

 
ตัวเเปรตาม/ตัวจัดกระทำ ได้เเก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ
                                                        1. สังเกต
                                                        2. จำเเนกประเภท
                                                        3. สื่อสาร
                                                        4. การลงความเห็น
ประชากร  
 
     นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2

นิยามศัพท์เฉพาะ

1.   เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ระดับอนุบาลศึกษา
2. การพัฒนา หมายถึง ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งประเมินโดยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3.ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการใช้ความคิด การค้นหาความรู้เพื่อหาคำตอบที่เป็นองค์ความรู้ได้ ในการวิจัยนี้จำแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์แล้วเด็กสามารถบอกลักษณะหรือความแตกต่างของสิ่งนั้นได้
3.2 การจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์
3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการบอกข้อความหรือเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ค้นพบจากการสังเกต การทดลอง เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง

3.4  การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือสรุปความเห็นสิ่งที่ค้นพบหรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหรือที่ได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับการใช้เหตุผล
4. กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง งานการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติการการเรียนรู้โดยจัดลำดับสาระตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ ของรศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ ที่นำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำ ได้รับประโยชน์จริง ดังนี้

ขั้นนำ เป็นขั้นการเตรียมเด็กเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่จะเรียน
ขั้นสอน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 จัดกิจกรรมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน และตอนที่ 2 ทำชุดแบบฝึกทักษะตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน
ขั้นสรุป เด็กร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับจากการเรียนเรื่องนั้นๆ
5. ชุดแบบฝึกทักษะ หมายถึง แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยเน้นการใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain - Based Learning)สำหรับเด็กปฐมวัยที่ออกแบบโดย ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะจำนวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต พืช สัตว์ และโลกของเรา

 
สมมุติฐานการวิจัย

เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ มีการพัฒนา
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน


วิธีดำเนินการวิจัย

การเลือกกลุ่มตัวอย่าง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 15 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้ง นี้มีดังนี้
1.ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain -
Based Learning) ของ รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ
2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
3. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์


การดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 เป็นเวลา 10สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ในการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ และวันศุกร์ ในช่วงเวลา 08.00 - 11.30 น. ในการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ใช้สัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 10 ระยะเวลาในการประเมินจากเด็กจำนวน 15 คน ใช้เวลาในการทำแบบประเมินคนละ 5 ข้อ ข้อละ 2 นาที รวม10 นาที ต่อเด็ก 1 คน การประเมินในแต่ละวันให้เด็กทำตามการจำแนกรายด้านดังนี้

                                                       วันจันทร์ ชุดที่ 1 การสังเกต 5 ข้อ
                                                       วันอังคาร ชุดที่ 2 การจำแนกประเภท 5 ข้อ
                                                       วันพุธ ชุดที่ 3 การสื่อสาร 5 ข้อ
                                                       วันศุกร์ ชุดที่ 4 การลงความเห็น 5 ข้อ
  สำหรับระยะเวลาในการทดลองใช้ 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือวันจันทร์วันพุธ และวันศุกร์ วันละ 30 นาที รวม 24 ครั้ง ทำการทดลองในช่วงเวลา 09.00 - 09.30 น.
โดยมีขั้น ตอนดังนี้

1.จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
2.ผู้วิจัยทำการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pretest)ก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 4 วัน และบันทึกผลของข้อมูลในแต่ละข้อของเด็กแต่ละคนเพื่อนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บเป็นคะแนนข้อมูลพื้นฐานชุดที่ 1
3.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ ในระยะเวลาระหว่าง 09.00 - 09.30 น. ของวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2550ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2550 ผู้วิจัยดำเนินขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ตามตาราง 3ดังนี้
 



การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ ดังนี้
1. หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลัง การใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทั้งภาพรวมและจำแนกรายทักษะ โดยใช้ค่าแจกแจง t แบบDependent Samples


สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1. หาความเที่ยงตรงของแบบประเมินโดยใช้ดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับพฤติกรรม (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543 : 117) ดังนี้
2. หาค่าความยากง่าย (Difficulty) ของแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็ก
3. การหาค่าอำนาจจำแนกโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์แบบพอยท์ - ไบซีเรียล (Point biserial correlation)
4.  หาค่าความเชื่อมัน่ ของแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของด็กปฐมวัย โดยใช้สูตร KR - 20 ของคูเดอร์ - ริชาร์ดสัน (Kuder - Richardson)


สรุปผลการวิจัย

1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะคือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือทักษะการจำแนกประเภท
2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01