วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

บทความ


สอนลูกเรื่องพายุ (Teaching Children about Storms)

ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง

 อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยมีความรู้เกี่ยวกับลมที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศอย่างรวดเร็ว และรุนแรง อันเนื่องจากอากาศ 2 บริเวณมีความแตกต่างของอุณหภูมิอย่างมาก ทำให้อากาศร้อน ลอยตัวสูงขึ้น อากาศในแนวราบที่อุณหภูมิต่ำกว่าจึงเข้ามาแทนที่ ทำให้เกิดการหมุนของอากาศ ส่งผลให้เกิดพายุ หมายถึงภาวะผิดปกติของบรรยากาศ เป็นปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งแสดง ถึงสภาวะของอากาศไม่ดี และมีลมแรงจัด ประเทศไทยมีภัยพิบัติที่เกิดจากลมพายุมาหลายครั้ง สร้างความเสียหายถึงชีวิตผู้คน สัตว์ พืช และทรัพย์สิน สิ่งก่อสร้างมากมาย การเกิดพายุครั้งใหญ่ๆ

·       ลมพายุ เป็นเรื่องธรรมชาติที่ควรจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก จัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เน้นกระบวนการในการแสวงหาความรู้เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เพราะความเป็นธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเด็กจะสัมพันธ์กับการดำรงชีวิต

·       เด็กปฐมวัยจะช่างคิด สมองของเด็กจะทำงานและพัฒนาได้อย่างมหัศจรรย์ เมื่อเด็กได้รับประสบ การณ์กับโลกภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมที่มากระตุ้นเซลล์สมองจำนวนนับพันล้านเซลล์ จะสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงถึงกัน เมื่อเด็กได้รับการส่งเสริมความอยากรู้และสำรวจ ตลอดจนการที่เด็กได้เรียนรู้ เรื่องลมพายุ เป็นเรื่องที่มีให้เห็นหรือเป็นจริง เป็นการเรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิต จึงทำให้ความอยากรู้ที่ก่อเกิดมาแล้วพร้อมกับชีวิต ได้รับการกระตุ้นให้เด็กอยากสืบค้นเรื่องที่ซับซ้อนอื่น ๆต่อไป

·       การส่งเสริม ให้เด็กสงสัยใคร่รู้ และเรื่องราวที่น่ารู้มีจริงในชีวิตของเด็ก จะช่วยสร้างความมั่นใจในตัวตนของเด็ก นักการศึกษาเด็กเชื่อว่าหากให้เด็กเผชิญกับปัญหา และ แก้ปัญหาด้วยตนเอง เด็กจะเกิดความสามารถช่วยตนเองได้และหาความสำเร็จได้ เรื่องลมพายุ เป็นเรื่องหนึ่งที่ท้าทายให้เด็กสงสัยและทดลองเป็นการวัดความสามารถของตนเองต่อไป

ครูสอนเรื่องพายุอย่างไร

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

·       การจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องพายุ จะสัมพันธ์กับการสอนเรื่องอากาศ ทดลองหาคำตอบ จากคำถามที่น่าสนใจเริ่มจากอากาศอยู่ที่ไหน ครูนำถุงซิปมา 1 ใบ เปิดซิปออกโบกถุง ผ่านอากาศ จากนั้น ก็ปิดปากถุง รูปร่างของถุงเปลี่ยนไป การทดลองนี้นำไปสู่การสรุปได้ว่า เรามองไม่เห็นลม แต่เรารู้ได้ว่ามีลม เพราะลมทำอะไรกับสิ่งที่เราเห็นได้

·       ทดลองหาคำตอบว่า พายุมีลักษณะอย่างไร โดยใช้พื้นที่ในห้องเรียน เมื่อเปิดประตู ห้องที่เปิดเครื่อง ปรับอากาศกำหนดอุณหภูมิต่ำกว่าภายนอก เมื่อเปิดประตูจะมีลมเย็นพัดออกมา นั่นคือความแตก ต่างของความกดอากาศที่พัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงเข้าสู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ถ้าความกดอากาศในที่สองแห่งแตกต่างกันมากจะทำให้มีลมพัดด้วยความเร็วสูง เช่น พายุหมุน พายุฝนฟ้าคะนอง เป็นต้น

·       ครูอาจนำข่าวสารการพยากรณ์อากาศจากโทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ มาอ่านให้เด็กรู้ว่าเรารู้ความ เร็วของลมพายุมานานแล้ว โดยดูผลของลมที่กระทำกับสิ่งรอบตัว คนศึกษาลักษณะของลม และทำ นายหรือพยากรณ์อากาศจาก เครื่องมือที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลอย่างดี เตือนเราล่วงหน้าเวลาที่มีพายุ พัดรุนแรง เราสามารถหาที่ปลอดภัยหลบพายุได้เมื่อเกิดเหตุการณ์จำเป็นเช่นนั้น

กิจกรรมเคลื่อนไหว

·       ครูอ่านบทกลอนให้เด็กเคลื่อนไหวแสดงท่าทางอิสระตามจังหวะ เกี่ยวกับพายุ

กิจกรรมสร้างสรรค์

·       วาดภาพระบายสีลมพายุ ตามความคิดของเขาอย่างอิสระ ทำโมบายไปแขวน บริเวณที่มีลมพัด

กิจกรรมกลางแจ้ง

·       ให้เด็กสมมติตนเองเป็นลมพายุ กางแขน วิ่งวนไปในรอบๆสนาม

กิจกรรมเสรี

·       ที่มุมหนังสือ หาหนังสือภาพเรื่อง ลมพายุมาให้เด็กอ่าน ดูภาพ

กิจกรรมเกมการศึกษา

·       เล่นเกมภาพตัดต่อลมพายุ เกมจับคู่ภาพท้องฟ้ามืด สว่าง ฝนตก น้ำท่วม

เกร็ดความรู้เพื่อครู

พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด เช่น

  • พายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า ไซโคลน (Cyclone)
  • เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางด้านตะวันตกของเม็กซิโกเรียก ว่า เฮอร์ริเคน (Hurricane)
  • เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และทะเลจีนใต้เรียกว่า ไต้ฝุ่น (Typhoon)

         พายุหมุนเขตร้อนที่มีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศของประเทศไทย ส่วนใหญ่มีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิก เหนือด้านตะวันตกและทะเลจีนใต้ ซึ่งมีการแบ่งเกณฑ์ ความรุนแรงของพายุตามข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยใช้ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุดังนี้

  • พายุดีเปรสชั่น ความเร็วลมไม่เกิน 33 นอต (61 กม./ชม.)
  • พายุโซนร้อน ความเร็วลม 34 - 63 นอต (62 - 117 กม./ชม.)
  • ไต้ฝุ่น ความเร็วลม 64 นอตขึ้นไป (118 กม./ชม.ขึ้นไป)

      ครูควรทำความเข้าใจก่อนว่า พายุจะเกิดได้นั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องของอุณหภูมิของกระแสน้ำ ยิ่งอุณหภูมิมากแนวโน้มที่จะกลายเป็นพายุ ที่มีความรุนแรงก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตาม มักเกิดในทะเลที่มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 26-27 c ขึ้นไป มีปริมาณไอน้ำสูง เมื่อเกิดขึ้นแล้วมักเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก และ ค่อยๆโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวัน ออกอีก และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด เมื่อครูมีความเข้าใจเรื่องการเกิดพายุ ครูนำมาออกแบบทด ลองให้เหมาะกับเด็กปฐมวัย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น