วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่5 วันอังคาร ที่ 15 กันยายน 2558

No.5


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
 อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา   สุขสำราญ
ประจำวันอังคารที่ 15 กันยายน 2558
เรียนครั้งที่5 เวลา 13.30-17.30
กลุ่ม 102 ห้อง2
 
 
Knowledeg
สมอง
คือ อวัยวะส่วนหนึ่งที่อยู่ในร่างกาย เป็นส่วนกลางของระบบประสาท สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว พฤติกรรมเช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น

การทำงานของสมอง
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือสมองส่วนหน้าทำหน้าที่เก็บข้อมูล ควบคุมการทำงานของร่างกาย การรับสัมผัส ความจำ สมองส่วนกลาง ถูกสั่งงานมาจากสมองส่วนหน้า ควบคุมการทำงานของประสาทตา สมองส่วนท้าย ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การทรงตัว การหายใจ
สมองแบ่งออกเป็น 2 ซีก
1.สมองซีกซ้าย
2.สมองซีกขวา
 
 --------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หลักการ / แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
1.กีเซล (Gesell)
หลักการ
- พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนเป็นขั้นตอน
- การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้ากับสังคม และบุคคลรอบข้าง
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก
  • โครงสร้างของหลักสูตรยุทธนาการเด็กคุณลักษณะที่พึงประสงค์และประสบการณ์
  • จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสเคลื่อนไหวกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
 
2.ฟรอยด์ (Freud)
หลักการ
  • ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • ครูเป็นแบบอย่างที่ดีทางการแสดงออก ท่าทาง วาจา
  • กาจัดกิจกรรมเป็นขั้นตอนจากง่ายไปยากจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ

3.อิริคสัน
หลักการ
  • ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เด็กพอใจและประสบผลสำเร็จเด็กจะมองโลกในแง่ดีมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
  • ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีไม่พอใจจะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความมั่นใจในตนเองและไม่วางใจผู้อื่น
แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสประสบผลสำเร็จโดยจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยไม่ยากและมีโอกาสให้เลือกตามความสามารถและความสนใจ
  • จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิบัติที่ดีต่อสภาพแวดล้อมครูและเพื่อนๆ

4.เพียเจต์
หลักการ
  • พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กมีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่เกิดขึ้น
  • พัฒนาการของเด็กปฐมวัย 0 – 6 ปี
     
    แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กิจกรรมสำรวจทดลองกิจกรรมประกอบอาหาร
  • จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ เช่นการเล่นเกมการศึกษาการเรียนรู้จากสื่อของจริง
  • จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว
 
5.ดิวอี้
หลักการ
  • เด็กเรียนรู้ด้วยการกระทำ
  • การพัฒนาสติปัญญาของเด็กจะต้องฝึกให้เด็กคิดแบบวิทยาศาสตร์และมีระบบ
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก
  • กิจกรรมให้เด็กประสบผลสำเร็จพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
  • จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม
 
6.สกินเนอร์
หลักการ
  • ถ้าเด็กได้รับคำชมเชยและประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมเด็กก็จะทำต่อไป
  • เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างไม่มีใครเหมือนใคร
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก
  • ให้เสริมแรงเช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
  • ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน
 
7.เปสตาลอสซี่
หลักการ
- ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
- เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งทางด้านความสนใจ ความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
- เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรัก ให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
8.เฟรอเบล
หลักการ
  • ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี
 
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
ความหมายของวิทยาศาสตร์
หมายถึง การศึกษาสืบค้นหรือจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยอาศัยกะบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วย วิธีการทักษะ กระบวนการ
 
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  • การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
  • การเรียนรู้จากการคิดและการปฏิบัติ
  • การเรียนรู้แบบองค์รวมที่ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน
  • การเรียนรู้จากการคิดและการปฏิบัติ
  • การเรียนรู้แบบองค์รวมที่ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน
 
การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
1.การเปลี่ยนแปลง
2.ความแตกต่าง
3.การปรับตัว
4.พึ่งพาอาศัยกัน
5.ความสมดุล
 
การศึกษาวิทยาการวิทยาศาสตร์
1.ขั้นกำหนดปัญหา
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
3.ขั้นรวบรวมข้อมูล
4.ขั้นสรุปข้อมูล
 
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1.ความอยากรู้อยากเห็น
2.ความเพียรพยายาม
3.ความมีเหตุผล
4.ความซื่อสัตย์
5.ความมีระเบียบและรอบคอบ
6.ความใจกว้าง
 
การเรียนรู้อย่างมีความสุข
  • การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
  • เรียนรู้โดยผ่านประสามสัมผัสทั้ง 5
  • พัฒนาทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก
  • กิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดสอบ
 
การเรียนรู้แบบองค์รวม
  • กิจกรรมที่จัดต้องสอดคล้องกับประสบการณ์ที่ได้รับ
  • ครูผู้สอนเด็กควรหลอมรวมหรือเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ให้ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน
  • ประสบการณ์ต่างๆ สัมพันธ์กันในลักษณะบูรณาการ
 
กิจกรรมนำเสนอบทความ
เลขที่ 1 เรื่อง วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ
เลขที่ 2 เรื่อง สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ การเรียนรู้ทางปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆการค้นพบ การอธิบาย ปฏิบัติ จำแนก เปรียบเทียบ
เลขที่ 3 เรื่อง แนวทางการสอนคิดเติมโจทย์ให้กับเด็กอนุบาล
 
Teaching Techniques
  • สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • สอนโดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง
  • สอนโดยใช้การภาม – ตอบ กระตุ้นผู้เรียน
  • สอนวิธีการนำเสนองานที่ถูกวิธี
 

Application


สามารถนำความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆไปใช้ในจัดประสบการณ์ และสื่อการสอนได้กับทุกวิชา เผื่อให้ถูกต้องและตรงตามพัฒนาการของเด็ก
 
The Skills
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการตอบคำถาม
  • ทักษะการนำเสนองาน
  • ทักษะการสร้างสรรค์
 
Teacher Evaluation
Self : มาเรียนตรงเวลา มีความเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน จดบันทึกลงสมุดได้ครบถ้วน
Friend : มาเรียนตรงเวลา จดงานได้อย่างมีระเบียบ
Teaching : มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดเสียงดังฟังชัด ถูกอักขระ เวลาสอนมีการยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน จึงทำให้เจ้าใจง่าย
 
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น