วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่4 วันอังคาร ที่ 8 กันยายน 2558

No.4



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
 อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา   สุขสำราญ
ประจำวันอังคารที่ 8 กันยายน 2558
เรียนครั้งที่4 เวลา 13.30-17.30
กลุ่ม 102 ห้อง2

 

 

Knowledeg

กิจกรรม : พับกระดาษเป็นรูปต่างๆให้เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

 อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้พับกระดาษเป็นรูปอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ แล้วนำเสนอรายบุคคล







 

กดลงไปบนหลังของกบ ตรงที่วงกลมไว้ เมื่อกดไปกบจะกระโดดไปข้างหน้า





 

สรุป : เมื่อเราพับเสร็จแล้ว แล้วกดบนตัวกบ กบจะกระโดดไปข้างหน้า

-                  แรงที่กระทำซ้ำๆ  หมายถึงแรงหรือน้ำหนักที่กระทำต่อโครงสร้างหรือวัสดุหลายๆครั้งซ้ำกันและสลับไปมา

 เพราะตอนที่เราพับกระดาษ กระดาษเกิดความอัดแน่นซ้อนทับกันหลายชั้น จึงทำให้เกิดการอัดแน่น

และเมื่อเรากดลงบนตัวกบ จึงมีความยืดหยุ่น กบจึงกระโดดได้

 

Teaching Techniques

-                  สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

-                  สอนโดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

-                  สอนโดยใช้คำถามกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา


Application

นำมาบูรณาการได้กับวิชาสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย เราสามารถให้เด็กได้ทำของเล่นเล่นได้เอง แล้วยังสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ด้วย


The Skills

-                  ทักษะการฟัง ฟังเมื่ออาจารย์สั่งงานและปฏิบัติตาม
-                  ทักษะการตอบคำถาม ตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม ทำให้เกิดกระบวนการคิด
-                  ทักษะการนำเสนองาน กล้าแสดงออกทางความคิด พูดจาเสียงดังฟังชัด ถูกอักขระ
-                  ทักษะความคิดสร้างสรรค์ อาจารย์ให้กระดาษมา 1 แผ่น แต่เราสามารถส้รางเป้นของเล่นที่มีประโยชน์และบูรณาการเข้ากับวิทยาศาสตร์ได้
 

Teacher Evaluation
Self : มาเรียนสายไป30นาที เนื่องจากจำเวลาเข้าห้องเรียนผิด

Friends : มาเรียนตรงเวลา ช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถาม ร่วมทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้

Teaching : มาสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เวลาสอนอาจารย์เสียงดังฟังชัด พูดอักขระชัดเจน เวลาสอนอาจารย์จะยกตัวอย่างทำให้เข้าใจง่ายขึ้น

                                        

 



บันทึกอนุทินครั้งที่3 วันอังคาร ที่ 1 กันายายม 2558

No.3

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
 อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา   สุขสำราญ
ประจำวันอังคารที่ 1 กันยายน 2558
เรียนครั้งที่3 เวลา 13.30-17.30
กลุ่ม 102 ห้อง2







***ไม่มีการเรียนการสอน***
เนื่องจากอาจารย์ได้ให้เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาศาสตร์วิชาการ
 ณ ห้องประชุมลานอเนกประสงค์ ตึก28 ชั้น1
มหาวิทยาราชภัฎจันทรเกษม

 

Knowledeg

 
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นอย่างไร
?
   สาระวิชามีความสำคัญแต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (Content ,Subject matter) ควรเป็นการจัดการเรียนจากการค้นคว้าของศิษย์ โดยครูแนะนำและช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคน สามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้




 
 
คุณลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ 21 (Features of Teacher in the 21st Century)
  • Expanded     มีความสามารถในการถ่ายทอดหรือขยายความรู้ของตนสู่นักเรียนผ่านเทคโนโลยี
  • Experience   มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่
  • Exploration  มีความสารถในการเสาะหาและคัดเลือกเนื้อหาความรู้หรือเนื้อหาที่ทันสมัย
  • Extended       มีทักษะการแสวงหาความรู้ใหม่ๆเพื่อขยายองค์ความรู้ของตนเองผ่านทางสื่อเทคโนโลยี
  • Evaluation     เป็นนักประเมินที่ดี มีความยุติธรรม และความสามารถในการประเมินผล
  • End – User    เป็นผู้ที่ใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า ใช้ได้อย่างหลากหลาย
  • Efficien and Effective สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
  • Enabler         สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างบทเรียน เนื้อหา และสื่อการเรียนรู้อย่างทีประสิทธิภาพ
  • Engagement ต้องร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันผ่านสื่อเทคโนโลยีจนพัฒนาเป็นเครือข่ายความร่วมมือ

ภาพบรรยากาศ


 










Application


- นำมาบูรณาการการเรียนการสอน โดยให้เนื้อหาสอดคล้องกับการศึกษาศตวรรษที่ 21


 


Teaching Techniques


- สอนโดยการเน้นตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

- สอนโดยใช้คำถาม-ตอบ เพื่อกระตุ้นผู้เรียน ระหว่างเรียน